กรณีศึกษาไอทีกับงานซ่อมบำรุงที่โรงพยาบาลศิริราช

1.เครือข่ายคอมพิวเตอร์
ตอบ มี ระบบเครือข่ายที่มีความสำคัญมากต้องใช้ในโรงพยาบาลเช่น ระบบซ่อมบำรุงเพราะต้องมีการป้อนข้อมูลแจ้งซ่อมผ่านทางระบบ ออนไลน์ ,

ระบบ Sap และระบบอื่นๆที่ต้องใช้งานในอนาคต
2.อินเทอร์เน็ต
ตอบ มี เพราะเป็นสิ่งที่จำเป็นและขาดไม่ได้ในการค้นหาข้อมูลต่างในการซ่อมบำรุง
3.พาณิชย์อีเล็กทรอนิกส์
ตอบ
มีเพราะใช้ในการสั่งซื้ออุปกรณ์สินค้าและบริการรวมทั้งการชำระค่าสินค้าและบริการด้วยและในอนาคตมีแนวโน้มว่าอาจนำPDAมาใช้อีกด้วย
4.ระบบสารสนเทศประมวลผลธุรกรรม
ตอบ
มี เพราะ ทำหน้าที่บันทึกรวบรวมข้อมูลในแฟ้มข้อมูลหรือฐานข้อมูล ประมวลผลข้อมูลที่เกิดจากการทำธุรกรรมและการปฏิบัติงาน เช่น การรวบรวมข้อมูลในการซ่อมบำรุงเพื่อเป็นข้อมูลให้รู้ว่าเครื่องมือนั้นซ่อมมากี่ครั้งควรซ่อมต่อหรือทิ้ง
5.ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
ตอบ
มี เพราะจะประมวลผลและสรุปผลจากแฟ้มข้อมูลหรือฐานข้อมูลที่ได้จากระบบสารสนเทศประมวลผลธุรกรรมเพื่อจัดทำสารสนเทศตามความต้องการของผู้บริหารเช่น ระบบ KPI ที่วัดผลของการทำงานและระบบนี้ยังสามารถรวบรวมข้อมูลเพื่อให้ผู้บริหารใช้ในการวิเคราะห์และวางแผนงานได้อีกด้วย
6.ร ะบบสนับสนุนการตัดสินใจ
ตอบ
มี โดยการนำข้อมูลจากฐานข้อมูลต่างๆมาช่วยในการตัดสินใจ เน้นการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้สารสนเทศเป็นพื้นฐานในการช่วยตัดสินใจของผู้บริหาร โดยข้อมูลต่างๆอาจมาจากทั้งภายนอกและภายในองค์การ เช่นอาจนำข้อมูลมาจากระบบ KPI เพื่อใช้ในการตั้งงบประมาณและวางแผนปฎิบัติงาน
7.ร ะบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง
ตอบ
มี เพราะช่วยสนับสนุนการวิเคราะห์ปัญหา ศึกษาแนวโน้ม และการวางแผนกลยุทธ์ ยกตัวอย่างเช่นระบบซ่อมบำรุงที่จะมีผลการซ่อมจำนวนในการเบิกวัสดุรายงานข้อมูลการซ่อมเพื่อเป็นสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง
8.ป ัญญาประดิษฐ์ระบบผู้เชี่ยวชาญและระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์
ตอบ
ไม่มี แต่ควรมี เพราะเป็นการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้สามารถปฏิบัติงานเหมือนมนุษย์ เช่นอาจมีหุ่นยนตร์ที่ใช้ในการซ่อมงานในจุดที่อันตรายส่วนระบบผู้เชี่ยวชาญควรมี เพราะมีไว้เพื่อรักษาความรู้ของผู้เชียวชาญที่อาจสูญเสียหรือสูญหายเนื่องมากจากการลาอ อก การเกษียณ การเสียชีวิต เช่น การเก็บความรู้ในการซ่อมบำรุงโรงพยาบาลระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์หรือระบบ GIS ควรมีเพราะเป็นระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่
9.ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์
ตอบ มีเพราะเป็น ระบบสารสนเทศที่สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันเพื่อพัฒนาโรงพยาบาล
10.ระบบการวางแผนทรัพยากรในงานอุตสาหกรรม
ตอบ
ไม่มี แต่ ควรมีเพราะมีระบบที่สามารถนำมาใช้งานในโรงพยาบาลเช่นERP เป็นแอปพลิเคชั่นที่ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในหลายองค์การ ระบบ ERP ช่วยในการจัดการกระบวนการทางธุรกิจ (Business Process) ทั้งหมดในองค์การไม่ว่ากระบวนการผลิตสินค้า กระบวนการฝ่ายการเงินและการบัญชี กระบวนการขายและกระบวนการผลิต กระบวนการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์และอื่นๆ
11.การพัฒนาระบบสารสนเทศในงานอุตสาหกรรม
ตอบ ไม่มี ไม่ควรมี เพราะเป็นระบบในการพัฒนาในงาน อุตสหกรรม
12ระบบสำนักงานอัติโนมัติ
ตอบ มี เพราะเป็นเทคโนโลยีมาช่วยคนในสำนักงานให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ระบบเครือข่าย และซอฟต์แวร์ต่างๆ


การใช้ประโยชน์จาก RFID ในห่วงโซ่อุปทานยา
1.ทำไมจึงต้องนำ RFID มาใช้งาน
ระบบ Radio Frequency ldentification (RFID) สามารถตรวจและบันทึกข้อมูลได้ลึกถึงระดับชิ้นของสินค้าสามารถตรวจสินค้าได้ทีละหลายชิ้นและสามารถตรวจสอบได้แม้ว่าจะมีของอย่างอื่นบังอยู่ จึงนำมาซึ่งผลดีของธุรกิจยาซึ่งใช้ในการตรวจสอบข้อมูลและประวัติยา
2.ข้อดี-ข้อเสียของการนำ RFID มาใช้งาน
ข้อดี
1.สามารถลดค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบยา
2.ช่วยบริหารสต๊อก
3.ป้องกันการปลอมแปลง
4.ตรวจสินค้าได้หลายชิ้น
5.สามารถตรวจสอบประวัติยา
6.ช่วยลดเวลาในการค้นหาสินค้า
ข้อเสีย
1.ราคาแพงเมื่อเทียบกับบาร์โค้ด
2.ระยะในการทำงานของ RFID ยังใช้ได้ระยะไม่ไกลนัก
3.ไม่เหมาะกับที่ที่มีโลหะมาก
4.สิทธิด้านความเป็นส่วนตัว (Privacy Right) ของผู้บริโภคกำลังถูกล่วงละเมิด
3.RFID ควรนำไปใช้งานด้านใดอีก จงอธิบายและให้เหตุผลประกอบ
ธุรกิจที่เหมาะกับ RFID อย่างยิ่ง คืออุตสาหกรรมการผลิตสินค้าสำหรับผู้บริโภคทั้งหลายและหน่วยธุรกิจค้าปลีก เพราะRFID สามารถใช้ในการติดตามสินค้าทุกขั้นตอนในวงจรผลิตภัณฑ์ ทั้งในส่วนขั้นตอนการผลิต การบรรจุหีบห่อ การขนส่ง สามารถใส่ข้อมูลลงในแทค เพื่อเก็บข้อมูลต่างๆสำหรับการจัดการผลิตภัณฑ์และการจัดจำหน่าย
1. อธิบายความหมายของกลยุธ์ และระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์
คำตอบ.กลยุทธ์ (Strategy)
คือ แผนรวมขององค์การที่นำเอาข้อได้เปรียบและจุดเด่นในด้านต่าง ๆ มาใช้ประโยชน์ และปรับลดจุดด้อย หรือเอาชนะข้อจำกัดที่มีอยู่เพื่อแสวงหาโอกาสและหลีกเลี่ยงอุปสรรคซึ่งจะทำให้องค์การสามารถอยู่รอดเจริณเติบโตได้ในระยะยาวรวมทั้งสามารถเอาชนะคู่แข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ เป็นระบบสารสนเทศใด ๆ ที่ช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันหรือลดความเสียเปรียบให้องค์การ
2. องค์การสามารถเลือกใช้กลยุทธ์ใดได้บ้างเพื่อรับมือแรงกดดันทางการแข่งขัน
คำตอบ.
1) กลยุทธ์ในการเป็นผู้นำด้านราคา (Cost Leadership Strategy)
2) กลยุทธ์สร้างความแตกต่าง (Differentiation Strategy)
3) กลยุทธ์เน้นกลุ่มเป้าหมาย (Focus Strategy)
3. กิจกรรมของห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) มีอะไรบ้าง และจงยกอย่างของระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในแต่ละกิจกรรม
คำตอบ.กิจกรรมมีดังนี้
1) กิจกรรมหลัก (Primary Activities)
- การลำเลียงเข้า (Inbound Logistics)
- การดำเนินงานหรือการผลิต (Operations)
- การลำเลียงออก (Outbound Logistics)
- การตลาดและการขาย (Marketing and Sales)
- การบริการ (Services)
2) กิจกรรมสนับสนุน (Support Activities)
- โครงสร้างพื้นฐานของบริษัท (Firm Infrastructure)
- การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resoure Management)
- การพัฒนาเทคโนโลยี (Technology Management)
- การจัดหา (Procrument)
ะบบสารสนเทศจะถูกนำมาใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ของห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) เพื่อปรับปรุงกระบวนการการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดต้นทุนและค่าใช้จ่าย หรือเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการ ซึ่งอาจรวมถึงการสร้างสินค้าและบริการใหม่
4. กลยุทธ์ธุรกิจ (Business Strategy) กับกลยุทธ์ระบบสารสนเทศ (IS Strategy) และกลยุทธ์เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Strategy) มีความสัมพันธ์กันอย่างไร จงอธิบาย
คำตอบ.แผนกลยุทธ์ธุรกิจจะเป็นแนวทางในการกำหนดทิศทางของแผนกลยุทธ์ระบบสารเทศ ในขณะที่แผนกลยุทธ์ระบบสารเทศเป็นเครื่องชี้ทางแผนกลยุทธ์เทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์การ
5. ระบบสารสนเทศระหว่างองค์การ (Interorganizational System : IOS) มีลักษณะอย่างไรและการที่สามารถเข้าดูข้อมูลในระบบได้จะมีประโยชน์อย่างไรต่อองค์การ
คำตอบ.เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถนำมาเป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงธุรกิจขององค์การกับบริษัทพันธมิตรเข้าด้วยกัน เช่น การใช้ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (EDI) หรือ Internet ในการเชื่อมโยงองค์การเข้ากับผู้จัดส่งวัตถุดิบในการผลิต เพื่อให้มีวัตถุเพียบพอ และในระดับที่เหมาสอกับความต้อวการ ทำให้ไม่ต้องจัดเก็บวัตถุดิบไว้ในคลังมากเกินความจำเป็นซึ่งเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บวัตถุดิบลงองค์การทำการเชื่อมโยงผู้จัดส่งวัตถุดิบเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศกันและสามารถทำงานร่วมกันได้ ผู้จัดส่งวัตถุดิบสามารถเข้ามาดูข้อมูลเกี่ยวกับสถานะการผลิตของบริษัททางอิเล็กทรอนิกส์ได้ และทำการจัดวัตถุดิบให้ในเวลาที่ต้องการใช้โดยอัตโนมัติโดยที่องค์การไม่จำเป็นต้องออกใบสั่งซื้อ ซึ่งช่วยให้ลดขั้นตอนการดำเนินงานจากเดิม ลดการใช้กระดาษและลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลงได้ ทั้งองค์การและผู้จัดส่งวัตถุดิบจึงเป็นผู้รับผิดชอบในร่วมกันการผลิต
1.ยกตัวอย่างระบบงานในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์ โดยแยกตามลักษณะงานของปัญญาประดิษฐ์อย่างละ 1 ข้อ หรือให้มากที่สุด (เท่าที่หาได้)
ตอบ ข้อเปรียบเทียบระหว่างปัญญาประดิษฐ์กับคอมพิวเตอร์แบบธรรมดา
คอมพิวเตอร์ธรรมดา
ประมวลผลความรู้หรือสารสนเทศของคอมพิวเตอร์แบบธรรมดาเป็นไปตามอัลกอริทึม (Algorithm)

คอมพิวเตอร์ที่ใช้แนวคิดปัญญาประดิษฐ์
จะประมวลผลองค์ความรู้เป็นสัญลักษณ์ (Symbolic Processing) และความสัมพันธ์ระหว่างสัญลักษณ์นั้น เชื่อมโยงกันจนได้คำตอบของปัญหา
หุ่นยนต์ (Robotic)
หุ่นยนต์ (Robotic)เป็นเครื่องจักรไฟฟ้า ที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อให้ทำงานหรือกิจกรรมบางอย่างโดยอัตโนมัติแทนมนุษย์ สามารถสังเกตได้จากเครื่องจักรกลในโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อการเพิ่มผลิตผลในการทำงานและลดความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายกับมนุษย์
2.สมมติว่าท่านเป็นผู้บริหารโรงงานอุตสาหกรรมแห่งหนึ่ง ท่านจะนำข้อมูลในเรื่องใดบ้างมาประกอบการตัดสินใจการบริหารงานของท่านบ้าง จงยกตัวอย่าง
ตอบ การตัดสินใจในการบริหาร
• กำหนดปัญหา (Intelligence)
• พัฒนาทางเลือก (Design)
• เลือกทางเลือก (Choice)
• การนำทางเลือกไปปฏิบัติ (Implementation)

ระดับปฏิบัติการ (Operation Management)
–ควบคุมการดำเนินการขององค์กรให้เป็นไปตามแผนกลยุทธ์ที่กำหนดไว้
ระดับยุทธวิธี (Tactic Management)
–วางแผนและควบคุมการดำเนินการขององค์กรให้เป็นไปตามแผนกลยุทธ์ที่ผู้บริหารระดับสูงกำหนดไว้
ระดับกลยุทธ์ (Strategic Mangement)
–กำหนดนโยบาย เป้าหมาย และทิศทางขององค์กร

1. อธิบายความหมาย และองค์ประกอบหลักของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
ตอบ ระบบจัดการข้อมูล (Data Management Subsystem)
ระบบจัดการแบบจำลอง (Model Management Subsystem)
ระบบจัดการฐานความรู้ (Knowledge-based (Management) Subsystem)
ระบบโต้ตอบกับผู้ใช้ (User Interface Subsystem)
ผู้ใช้งานระบบ (The User)
คลังข้อมูล (Data Warehouse)
เทคโนโลยีฐานข้อมูล (Database Technology)
เครื่องมือในการพัฒนาระบบ DSS (DSS Tools)
2. ลักษณะและความสามารถของระบบสนับสนุนการตัดสินใจมีอะไรบ้าง จงอธิบาย ?
ตอบ 1.สนับสนุนการตัดสินใจทั้งในสถานการณ์แบบกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง
2. สนับสนุนการทำงานของผู้บริหารได้หลายระดับ
3. สนับสนุนการตัดสินใจแบบเฉพาะบุคคลและแบบกลุ่มได้
4.สนับสนุนการตัดสินปัญหาที่เกี่ยวพันซึ่งกันหรือปัญหาแบบต่อเนื่อง
5. สนับสนุนทุกขั้นตอนของกระบวนการตัดสินใจ
6. สนับสนุนการตัดสินใจหลากหลายรูปแบบ
7. สามารถปรับเข้ากับข้อมูลให้เข้ากับเงื่อนไขต่างๆที่เปลี่ยนแปลงได้มีความยืดหยุ่นสูง
8. สามารถใช้งานได้ง่าย ด้วยภาษที่เข้าใจง่าย มีภาพประกอบ
9. เพิ่มประสิทธิผลในการตัดสินใจ ทั้งในด้านความถูกต้อง แม่นยำ ความรวดเร็ว และคุณภาพของการตัดสินใจ
10.มีการใช้แบบจำลองต่างๆช่วยในการวิเคราะห์สถานการณ์การตัดสินใจ
11.สามารถเข้าถึงข้อมูลได้หลายแหล่งทั้งในองค์กรและนอกองค์กร
3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจขั้นสูงมีความแตกต่างจากระบบผู้เชี่ยวชาญอย่างไร ?
ตอบ ระบบผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ จะทำการตัดสินใจเองเป็นส่วนใหญ่ขอบเขตของปัญหาจะแคบและเฉพาะเจาะจงและมี
ความสามารถในการใช้เหตุผลและการอธิบายระบบสนับสนุนการตัดสินใจ ผู้ใช้เป็นคนตัดสินใจแทนระบบขอบเขต
ของปัญหาจะกว้างและซับซ้อน
4.ระบบสนับสนุนการตัดสินใจกลุ่มมีประโยชน์ และแตกต่างจากระบบสนับสนุนส่วนบุคคลอย่างไร ?
ตอบ การสนับสนุนการตัดสินใจส่วนบุคคล ผู้ใช้สามารถปรับเปลี่ยนเงื่อนไขต่างๆได้ด้วยตนเองระบบการตัดสินใจแบบ
กลุ่มต้องอาศัยการตัดสินใจในรูปของคณะกรรมการหรือคณะทำงานเนื่องจากปัญหานั้นผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่าย มี
ความซับซ้อนมีผลกระทบต่อทิศทางการดำเนินงานการใช้บุคคลเดียวในการตัดสินปัญหาอาจไม่สามารถทำได้อย่าง
รอบคอบและถูกต้องจึงต้องอาศัยการทำงานและการตัดสินใจของกลุ่มบุคคล
5.ระบบสนับสนุนการตัดสินใจนำมาใช้ในธุรกิจต่างๆ ด้านล่างนี้ได้อย่างไร จงอธิบาย และยกตัวอย่างประกอบ ?
ตอบ ใช้ในการศึกษารูปแบบการเลือกชื้อสินค้าของลูกค้าเช่นเมื่อลูกค้าชื้อคอมพิวเตอร์ ฝ่ายการตลาดก็จะใช้ข้อมูลใน
การวางแผนการสนับสนุนการขายสินค้า เมื่อชื้อไปแล้วจะต้องชื้ออะไรเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ และจำแนกกลุ่ม
ของลูกค้าที่มาชื้อสินค้าบ่อยๆ ประโยชน์เหล่านี้สามารถใช้ชี้นำเกี่ยวกับการกำหนดราคา การเพิ่มส่วนแบ่งตลาด
และการเพิ่มรายได้
5.1 ธุรกิจโรงเรียน ในระดับการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ เชิงยุทธวิธี และเชิงปฏิบัติการ
ตอบ โปรแกรมเครื่องมือในการออกเสียง
5.2 ธุรกิจโรงพยาบาล ในระดับการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ เชิงยุทธวิธี และเชิงปฏิบัติการ
ตอบ โปรแกรมการรักษาโรคของแพทย์
5.3 ธุรกิจผลิตรถยนต์ ในระดับการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ เชิงยุทธวิธี และเชิงปฏิบัติการ
ตอบ โปรแกรมการประกอบชิ้นส่วน
5.4 ธุรกิจขายรถยนต์ ในระดับการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ เชิงยุทธวิธี และเชิงปฏิบัติการ
ตอบ โปรแกรมตรวจสอบราคารถยนต์
5.5 ธุรกิจโรงแรม ในระดับการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ เชิงยุทธวิธี และเชิงปฏิบัติการ
ตอบ โปรแกรมเช็คข้อมูลการท่องเที่ยว
5.6 ธุรกิจผลิตน้ำแข็ง ในระดับการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ เชิงยุทธวิธี และเชิงปฏิบัติการ
ตอบ โปรแกรมการสั่งเปิดปิดระบบไฟฟ้า
5.7 ธุรกิจผลิตน้ำมัน ในระดับการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ เชิงยุทธวิธี และเชิงปฏิบัติการ
ตอบ โปรแกรมสั่งจ่ายน้ำมันจากหัวฉีด
5.8 ธุรกิจผลิตเม็ดพลาสติก ในระดับการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ เชิงยุทธวิธี และเชิงปฏิบัติการ
ตอบ โปรแกรมการสั่งซื้อวัตถุดิบ


ตอบคำถาม

คำถาม
1. ท่านคิดว่า RFID มีข้อได้เปรียบกว่าบาร์โค้ดอย่างไรบ้าง
ตอบ ลดงานที่ต้องใช้มือทำ เพื่อความแม่นยำในการตรวจสอบการขนส่งและจัดจ่าย สามารถตรวจสอบได้ว่าสินค้าถูกส่งออกจากโรงงานใด ผู้ผลิตคือใคร ราคาเดิมเท่าไร
2. จงยกตัวอย่างการนำเทคโนโลยี RFID ไปประยุกต์ใช้ในธุรกิจต่าง ๆ มาอย่างน้อย 3 ตัวอย่าง
ตอบ นำไปใช้ในธุรกิจ เช่น
- การแพทย์ ใช้วิเคราะห์ และค้นหาพฤติกรรมของคนไข้ เพื่อทำการรักษา
- ห้างสรรพสินค้า
- การค้าปลีก ใช้วิเคราะห์เพื่อการบริโภคสินค้าของลูกค้า
3. ท่านคิดว่าข้อจำกัดของการนำ RFID ไปใช้ในงานธุรกิจมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ ข้อจำกัด คือ การนำ RFID ไปใช้ควรระมัดระวังด้านความปลอดภัย และความเชื่อใจให้แก่ผู้บริโภค

ตอบคำถามท้ายบทที่ 3

คำถามท้ายบทที่ 3
1. Instant Messaging (IM) คืออะไร สามารถสนับสนุนกระบวนการดำเนินธุรกิจได้อย่างไรบ้างและช่วยลดค่าใช้จ่ายโทรศัพท์ได้อย่างไร
ตอบ IM คือ โปรแกรมที่ใช้ในการสื่อสาร และส่งข้อความในระหว่างเพื่อนหรือกลุ่มคนที่อยูในอินเทอร์เน็ต โดยรูปแบบจะคล้ายกับ E-mail โดยรูปแบบการส่งข้อมูลจะประกอบไปด้วยตัวหนังสือในการส่งแต่ละครั้ง แต่จะต่างกับ E-mail ตรงที่ คุณไม่ต้องนั่งรอเป็นชั่วโมงหรือวันๆ เพื่อรอการตอบกลับจากเพื่อนของคุณ เพราะข้อความที่คุณส่งไป จะส่งตรงไปหาเพื่อนของคุณ “ทันที” เหมือนกับการพูดคุยปกติ สามารถสนับสนุนกระบวนการดำเนินธุรกิจ ทางด้านการสั่งซื้อสินค้าโดยการสั่งสินค้าผ่านระบบ Instant Messaging (IM) จะช่วยลดค่าใช้จ่ายแทนการสั่งซื้อทางโทรศัพท์


2. E-Commerce แตกต่างจาก E-Bussiness อย่างไร
ตอบ E-Commerce เป็นส่วนหนึ่งของ E-Bussiness คือ E-Bussiness จะมีการดำเนินธุรกรรมทุกขั้นตอนผ่าน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทั้งในส่วนหน้าร้าน (Front Office) และหลังร้าน (Back Office) ในขณะที่ E-Commerce จะทำการซื้อขายสินค้าหรือบริการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น


3. E-Commerce กับ M-Commerce ต่างกันหรือไม่ จงอธิบาย
- (E-Commerce) ซึ่งเป็นแค่กระบวนการในการซื้อขาย แลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการต่างๆ ผ่านระบบเครือข่าย แต่ M-Commerce มาจาก Mobile-Commerce ก็คือ การทำธุรกรรรมผ่านทางโทรศัพท์มือถือ ซึ่งมีข้อได้เปรียบมากกว่า E-Commerce หลายอย่าง เช่น

1.Mobility ตรงนี้คงยอมรับกันได้ว่า มีมากกว่า E-Commerce เพราะเราสามารถนำโทรศัพท์มือถือไปยังที่ต่างๆ ได้สะดวกกว่าการต้องพกพา เครื่องคอมพิวเตอร์ แม้ว่าจะเป็น Notebook ที่นับวันจะมีขนาดเล็ก บาง น้ำหนักเบามากขึ้นแล้วก็ตาม

2.Reachability สามารถเข้าถึงได้ง่าย เรียกได้ว่า สมัยนี้ใครๆ ก็สามารถเป็นเจ้าของโทรศัพท์มือถือกันได้ไม่ยากนัก

3.Ubiquity ปัจจุบันเราใช้งานโทรศัพท์มือถือกันแพร่หลายมาก และใช้งานกันกว้างขวาง ไม่ได้ใช้เฉพาะในกลุ่มนักธุรกิจเหมือนในอดีต แต่ไปถึงแม่บ้าน นักศึกษา วัยรุ่น ฯลฯ

4.Convenience ด้วยขนาดที่พกพาได้ง่าย ทำให้เกิดความสะดวกในการนำไปใช้ และใช้งานได้ไม่ยาก เพียงกดปุ่มไม่กี่ปุ่ม ถ้าเทียบกับการใช้คอมพิวเตอร์ แล้วฟังก์ชันที่ทำงานบนมือถือจะสนองตอบการใช้งานที่ง่าย และใช้เวลาน้อยกว่า

4.จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างการทำธุรกิจแบบธุรกิจกับธุรกิจ (B2B), ธุรกิจกับลูกค้า (B2C), ธุรกิจกับภาครัฐ (B2G) และลูกค้ากับลูกค้า (C2C)
- ธุรกิจกับธุรกิจ (B2B) เป็นการทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ระหว่างที่มุ้งเน้นให้บริการกับลูกค้าที่เป็นองค์การธุรกิจด้วยกัน เช่น ผู้ผลิต-ผู้ผลิต ผู้ผลิต-ผู้ส่งออก ผู้ผลิต-ผู้นำเข้า และผู้ผลิต-ผู้ค้าส่ง ธุรกิจกับลูกค้า (B2C) เป็นการทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ระหว่างผู้ขายที่เป็นองค์การธุรกิจกับผู้ซื้อหรือลูกค้าแต่ละคนอาจเป็นการค้าปลีกแบบล็อตใหญ่หรือเหมาโหล หรือแบบขายปลีกที่มีมูลค่าการซื้อขายสินค้าจำนวนไม่สูง ธุรกิจกับภาครัฐ (B2G) เป็นการทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ระหว่างเอกชนกับภาครัฐ ได้แก่การประมูลออนไลน์ (E-Auction) และการจัดซื้อจัดจ้าง (E-Procurement) ลูกค้ากับลูกค้า (C2C) เป็นการทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ระหว่างผู้บริโภคด้วยกัน ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนและซื้อ-ขายสินค้าอาจทำผ่าน Website

5. จงยกตัวอย่างปัจจัยที่ทำให้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประสบความสำเร็จและล้มเหลวมาอย่างละ 5 ข้อ
1. การส่งงานออกแบบให้แก่ลูกค้าโดยผ่าน CD-ROM
2. การสั่งซื้อหนังสือจากเว็บไซด์
3. การส่งข้อมูลการโอนเงินระหว่างธนาคาร (Electronic Fund Transfers : EFT)
4. การจองตั๋วชมภาพยนตร์ผ่านโทรศัพท์มือถือ
5. การส่งเอกสารผ่าน EDI (Electronic Data Interchange) ของกรมศุลกากร

6. Internet ส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิตหรือซัพพลายเออร์กับลูกค้าอย่างไรบ้าง
- เป็นชุมชนอิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่มีทั้ง ผู้ซื้อ ผู้ขาย ผู้ผลิตหรือซัพพลายเออร์ เข้าออกแล้วค้นหาสินค้าและบริการตลอดเวลา จึงเป็นแหล่งที่เอื้ออำนวยต่อการประกอบธุรกิจ Internet จึงเป็นเหมือนจุดศูนย์การในการทำธุรกิจของโลกปัจจุบันมาก

7. Internet มีประโยชน์ต่อการให้บริการลูกค้าอย่างไรบ้าง
- มีหน้าที่ให้บริการต่าง ๆ กับลูกค้าตั้งแต่การค้นข้อมูลของ สินค้าและบริการ การสั่งซื้อ หรือแม้แต่การชำระเงินก็สามารถทำได้สะดวก สินค้าและบริการบ้างอย่างก็จะมีการให้บริการหลังการขายผ่านทาง Internet ด้วย

8. ในยุคความเจริญของ internet ความเร็วสูง การจำหน่าย softeware ในรูปแบบของ CD-Rom น่าจะลดน้อยลงและได้รับความนิยมน้อยกว่าการจำหน่ายโดยวิธีการ download ผ่านทาง internet แต่ในปัจจุบันกลับไม่เป็นเช่นนั้น การจำหน่าย software ในรูปของ CD-Rom ยังคงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ท่านคิดว่าเป็นเพราะเหตุผลใด
- เพราะการติดตั้ง software โดยผ่าน CD-ROM น่าจะช่วยลดปัญหาไวรัสเข้าสู่ระบบ Computer มากกว่าการ Download ผ่านทาง Internet

9.จงยกตัวอย่างของธุรกิจที่ทำการค้าแบบ E-Commerce มา 1 ธุรกิจ
- การจำหน่ายรถยนต์มือสองผ่านทาง Internet