กรณีศึกษาบทที่ 1 : การใช้เครือข่ายไร้สายของบริษัทเฮิร์ตซ์ (Hertz)

1. จากการประยุกต์ใช้เครือข่ายไร้สายของบริษัทเฮิร์ตซ์ที่ได้กล่าวข้างต้น แอปพลิเคชั่นที่ประยุกต์เพื่อใช้งานธุรกิจภายในองค์การมีอะไรบ้าง และมีแอปพลิเคชันใดบ้างที่เน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง
  • การให้บริการเช่ารถยนต์ด้วยความรวดเร็ว

  • การคืนรถยนต์อัตโนมัติ

  • บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่

  • การตรวจสอบเส้นทางเดิน

  • บริการเสริมสำหรับลูกค้า

  • การตรวจสอบตำแหน่งแอปพลิเคชันที่เน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลางคือ บริการเสริมต่างๆ สำหรับลูกค้าไม่ว่าจะเป็นการให้บริการดาว์นโหลดข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน แผนที่แหล่งช้อปปิ้ง ตลอดจนร้านค้า โรงแรม และแหล่งบันเทิงต่างๆ ผ่านทางเครื่องพีดีเอ
2. ประโยชน์อะไรบ้างที่เฮิร์ตซ์ได้รับจากการตรวจสอบตำแหน่งของรถเช่า และในฐานะที่ท่านเป็นผู้เช่ารถ ท่านมีความเห็นอย่างไรบ้างเกี่ยวกับการดำเนินการในลักษณะนี้ประโยชน์ที่ได้รับ คือ

  • สามารถรับรู้ว่ารถของบริษัทอยู่ตำแหน่งใด

  • ป้องกันการขโมย และสูญหาย

  • เป็นการสร้างความปลอดภัย และความเชื่อมั่นให้แก่บริษัทของตนเอง

  • ทำให้ลูกค้ารู้สึกมีความปลอดภัย หากบริษัทมีการสอดส่องดูแลความเคลื่อนไหวในฐานะเป็นลูกค้า

  • ไม่มีความเป็นส่วนตัว

  • แสดงท่าทีไม่ไว้ใจลูกค้าว่าอาจจะขโมยรถ

กรณีศึกษาที่ 2. การใช้ RFID ในห่วงดซ่อุปทานของยา

ท่านคิดว่า RIFD มีข้อได้เปรียบกว่าบาร์โค้ดอย่างไรบ้าง

สามารถตรวจสอบยาต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและง่ายกว่าบาร์โค้ดเนื่องจากการใช้ RIFD นั้นสามารถระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุแต่ส่วนของบาร์โค้ดนั้นต้องนำที่สแกนไปสแกนให้ตรงกับตำแหน่งที่ติดตั้งฉลากบาร์โค้ดจึงทำให้เป็นการเสียเวลามากกว่า

2. จงยกตัวอย่างการนำเทคโนโลยี RFID ไปประยุกต์ใช้ในธุรกิจต่าง ๆ มาอย่างน้อย 3 ตัวอย่าง

  • ร้านรองเท้า

  • ร้านเครื่องเขียน

  • ห้างสรรพสินค้า

3. ท่านคิดว่าข้อจำกัดของการนำ RFID ใปใช้ในงานธุรกิจมีอะไรบ้าง

  • การติดตั้งระบบค่อนข้างมีราคาแพงอาจไม่คุ้มทุนนะถ้าหากว่าธุรกิจมีขนาดไม่ใหญ่ และ การดูแลระบบอาจเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความชำนาญเป็นพิเศษ ซึ่งอาจจะต้องจ้างผู้ตรวจสอบระบบเพิ่มต่างหากทำให้เป็นการเพิ่มภาระต้นทุนให้กับธุรกิจSAN Systemยุคการจัดการความรอบรู้ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว อิเล็กทรอนิกส์ทำให้ระบบการเรียนรู้ต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไปมาก เรามีระบบการเรียนรู้แบบใหม่ที่ชื่อ eLearning ใช้สื่อข้อมูลเป็นแหล่งการเรียนรู้ใหญ่ มีระบบ eLibrary เก็บข้อมูลหนังสือที่เป็นแบบ eBook รวมทั้งสิ่งพิมพ์ประเภท eMagazine eJournal และ eProceeding ระบบ e ยังทำให้เกิดการเรียนรู้แบบ eEducation on Demand หรือ eEODหากแหล่งความรู้มีการจัดเก็บในรูปแบบสื่อดิจิตอล ซึ่งก็ต้องใช้ที่เก็บจำนวนมาก การใช้ที่เก็บในรูปสื่อมัลติมีเดีย ทำให้ขนาดของที่เก็บมีขนาดความจุเพิ่มสูงขึ้น ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีการบันทึกข้อมูลและการจัดเก็บข้อมูลจะก้าวหน้าไปมากแล้วก็ตาม การดำเนินการพัฒนาขนาดและเทคโนโลยีก็ต้องดำเนินต่อไป เพราะหากพิจารณาถึงขุมความรู้จำนวนมหาศาลที่จะเก็บ (ลองนึกถึงขนาดของ eLibrary หรือดิจิตอลไลบารีดู) การจัดเก็บจึงต้องมีการพัฒนาในอดีตที่ผ่านมา เราใช้แนวคิดที่ว่าคอมพิวเตอร์หนึ่งเครื่องประกอบด้วย ซีพียู หน่วยความจำหลัก และหน่วยความจำรองที่เก็บข้อมูลจำนวนมากได้ เช่น ฮาร์ดดิสค์ ซีดีรอม หรือดีวีดี นั้นหมายความว่า ระบบคอมพิวเตอร์หนึ่งระบบมีที่เก็บข้อมูลหนึ่งที่ และให้คอมพิวเตอร์เหล่านั้นเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย ดังรูปเมื่อถึงคราวใช้งานบนเครือข่าย การคำนวณบนเครือข่ายย่อมต้องอาศัยการรับส่งข้อมูลระหว่างกัน บางแห่งมีการตั้งเป็นฟาร์มของเซิร์ฟเวอร์เรียกว่า เซิร์ฟเวอร์ฟาร์ม เซิร์ฟเวอร์เหล่านี้ดูแลฮาร์ดดิสค์หรือที่เก็บของตนเอง ดังนั้นเมื่อทำงานร่วมกันบนเครือข่ายก็จะมีการส่งผ่านข้อมูลระหว่างกันและโอนย้ายข้อมูลระหว่างกัน ใช้เวลานานมาก การจัดการข้อมูลที่มีขนาดใหญ่และส่งผ่านกัน ย่อมเกิดปัญหาในเรื่องการโอนย้ายผ่านเครือข่าย โดยเฉพาะช่องการส่งข้อมูลอาจมีจำกัด เช่น ระบบ SCSI ที่มีแถบจำกัดเซิร์ฟเวอร์ฟาร์มแนวคิดในเรื่องการจัดการข้อมูลจำนวนมาก จึงต้องปรับเปลี่ยนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของระบบโดยรวม ลองนึกดูว่า ถ้ามีข้อมูลขนาดใหญ่ชุดหนึ่งที่เครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่อง ต้องใช้ร่วมกัน การที่จะให้เซิร์ฟเวอร์หนึ่งส่งข้อมูลไปให้เครื่องอื่นย่อมติดขัด ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานต่ำลง แต่หากให้ทุกซีพียู หรือเครื่องหลาย ๆ เครื่องเรียกใช้ข้อมูล ซึ่งเสมือนข้อมูลเก็บอยู่ในที่เก็บที่แบ่งการใช้งานได้ทันที ทำให้เสมือนการติดต่อผ่านระบบที่เรียกว่า SAN Storage Area NetworkSAN เป็นระบบเครือข่ายของที่เก็บข้อมูล โดยนำอุปกรณ์ที่จัดเก็บข้อมูลมาติดตั้งรวมกันเป็นเครือข่าย มีระบบจัดการข้อมูลบนเครือข่ายที่ทำให้รับส่งข้อมูลได้รวดเร็ว ทำให้ข้อมูลที่เก็บเสมือนเป็นส่วนกลางที่แบ่งให้กับซีพียูหลายเครื่องได้ การจัดเก็บที่เก็บแบบนี้จึงต้องสร้างสถาปัตยกรรมใหม่ เพื่อให้รองรับระบบดังกล่าว การทำงานนี้จึงคล้ายกับการสร้างเครือข่ายของที่เก็บข้อมูลแยกต่างหาก เป็นการสร้างระบบจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่อย่างมีประสิทธิภาพได้ และสามารถใช้งานได้ดีกว่าแบบเดิมด้วยเหตุผลที่แนวโน้มของการเก็บข้อมูลข่าวสารความรู้ในองค์กรมีมาก การดูแลฐานความรู้และข้อมูลข่าวสารขนาดใหญ่ จำเป็นต้องมีการสร้างระบบเพื่อรองรับองค์กรในอนาคต SAN จึงเป็นทางเลือกหนึ่งของการบริหารและจัดเก็บข้อมูลบนเครือข่าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น